การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตัน และ อวัยวะกลวง
- อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
- อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)
การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราน) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้น จะใช้เวลา 2 ชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต" นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของเส้นลมปรานปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น. และสูงสุดในช่วงเวลาประมาณ 04.00 น. จากนั้นจะค่อยๆลดลง และออกจากเส้นลมปรานปอดไปยังเส้นลมปรานลำไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น. การรักษาโรคของเส้นลมปรานปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น. ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (มีการคั่งของน้ำในปอด) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณ 40 เท่าของการให้เวลาอื่น
การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายใน มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัว มีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทำงานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป
การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักฐานของการมีสุขภาพที่ดี และมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลา ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น